วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 7

Tips And Trick ง่ายๆ ที่ทำให้คอมพิวเตอร์อืด เร็วขึ้นทันใจ (soft ware)
ปฐมบท
         คอมพิวเตอร์เก่า ช้ามากมาย อยากให้เร็วจี๊ดขึ้นทำไงดีหละ แรมก็น้อย ทรัพย์ก็จางอีก ปัญหาประเทศ
หละครับพี่น้องครับ  รัฐบาลคงไม่แจกอั่งเปาอิกเป็นแน่แท้ (อันหลังนี่ไม่เกี่ยวกัน 55+ )
 วิธีทำไม่ยุ่งยากครับ มีหลายวิธีแต่จะเอาอันง่ายๆ ก่อนก็แล้วกันนะจ๊ะ อะไรเอ่ยที่ทำให้คอมพิวเตอร์คู่ใจเราช้ามาก
มาย มากกว่าเต่าอิกนะ  คำตอบคงมีหลายแง่หลายมุมแตกต่างกันไป ทั้งการที่มีโปรแกรมประเภทมัลติมีเดียที่
เยอะรกหูรกตา เต็มหน้าเดสก์ทอป นานๆครั้ง ท่านเจ้าจะคลิกมัน ออกมาใช้ ทั้งที่มี โปรแกรมคู่ใจอยู่แล้ว
ยกตัวอย่าง GOM PLAYER , JET AUDIO, VLC , POWER DVD ,MEDIA PLAYER CLASSIC,WINAMP,WMP
 และนา ๆ ต่างๆมากมาย ไม่รู้เหมือนกัน ว่าทำไมร้านคอมจึง ลงให้เราหนักเครื่องมากมายเหลือเกิน ทั้งๆที่
โปรแกรมเดียว อาจ ดู file ต่างๆ ได้ครอบจักรวาล สงสัยคงเป็นการทำตลาด ประเภท เอาจำนวนเข้าว่า
(ใน วิชาการตลาด คงเป็น product marketing 55 บวก เอาเข้าไป)
เอาหละเข้าเนื้อกันเลย พูดมายาวนานจะบอกว่า โปรแกรมมัลติมีเดียนี่ เอาไว้อันที่เราใช้จริงๆ ก็พอ ไม่จำเป็นต้อง
มีเยอะรกหูรกตา รก ฮาร์ดดิสก์ เช่นผม เจ้าประจำดุหนังทุกไฟล์ ตั้งแต่ 3gp ยัน image file คือ VLC ครับ ของเขา
ดีจริง ดูได้ทุกอัน ไฟล์เล็ก คุ้มค่ากับการลงโปรแกรมนี้ ต่อมาก็ GOM PLAYER ครับ เอาไว้ดุหนังประเภท XVID
DVD5  อันที่มี sub ต่างๆ นาๆ แล้วก็โปรแกรมประจำคอม winamp อานะ นอกนั้นก้มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป
 แต่ความเห็นสว่นตัว vlc กะ วินแอมก้พอละ window media player ไม่ต้องพูดถึงเขาละ ของเขาดีจริง
        สรุป โปรแกรมไรไม่ได้ใช้ก็ Remove ซะ หนักเครื่อง คอมพ์ อืดนะจะบอกให้ 

ทุติยบท


        ทำเครื่องให้จี๊ดต่อเลยนะ  เข้าเนื้อหาละ บางครั้งเราใช้ เอฟเฟคต่างๆนาๆ กับคอมพิวเตอร์เรามากไปทำ
ให้ ซีพียู แรม การ์ดจอ รับไม่ไหวโดยเฉพาะเครื่องช้าๆนี่แล้วใหญ่ เรามาลดความสิ้นเปลืองกัน โดยการปรับแต่ง
มันสิ ไปกันเลย (รับรอง ไม่พังแน่ๆๆ รับประกัน เพราะว่า เราก็ทำอยู่555 )
ลดความสิ้นเปลืองดดยใช่เหตุ
คลิกขวาที่ My computer > Properties > Advanced
ไปที่ Performance > setting  > custom
แล้วก็ติ๊กตามหมายเลข เลยครับ








หากต้องการให้ theme ที่ใช้ เป็น window classic ไม่จำเป็นต้องติ๊ก หมายเลข 10 ครับ หรือ ไม่ต้องติ๊ก ตั้งแต่
6 - 10 ให้ข้ามมาที่ 11 เลย หากคอมพืคอมคุณ เก่าจิงๆ

การแก้ไขปัญหา Hardware

Hard Disk ทำงานช้าจะทำอย่างไร

โดยส่วนมากแล้วสาเหตุจะมาจากพื้นที่ว่างในฮาร์ดดิสก์ไม่มากพอครับ สำหรับผู้ใช้ Window 95 , 98 ควรที่จะมีพื้นที่ว่างเหลืออย่างน้อยที่สุดประมาณ 500 MB การแก้ไขคือ ควรทำ Disk Cleanup (ทำทุกวัน) , Scandisk (ทำทุกวัน) และ Disk Defragment (ทำทุกเดือน)

นายอิทธิพัฒน์ ล้ำเลิศวรวิทย์ ม.5/1 เลขที่ 18

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 5



การทำงานของเครื่องซีดีรอม
เครื่องซีดีรอมมีส่วนประกอบภายในที่ทำหน้าที่ดังนี้
1. ตัวกำเนิดเลเซอร์ เป็นแหล่งกำเนิดความเข้มต่ำและส่งไปยังกระจกสะท้อนเลเซอร์
2. เซอร์โวมอเตอร์ ทำหน้าที่ปรับให้เลเซอร์ตกลงแทร็กที่ต้องการด้วยการรับคำสั่งจากไมโครโปรเซสเซอร์ และมีหน้าที่ปรับมุมของกระจกสะท้อนเลเซอร์ด้วย
3. เมื่อเลเซอร์กระทบดิสก์ จะมีการหักเหไปยังเลนส์ที่อยู่ด้านใต้ของดิสก์จากนั้นสะท้อนไปยังเครื่องแยกลำแสง
4. เครื่องแยกแสงจะส่งเลเซอร์ไปยังอีกเลนส์หนึ่ง
5. เลนส์อันสุดท้ายจะส่งเลเซอร์ไปยังเครื่องตรวจจับแสงที่เปลี่ยนคลื่นแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้า
6. ไมโครโปรเซสเซอร์จะแผลงสัญญาณที่ได้รับและส่งเป็นข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์



หน้าที่ของ CD - ROM

การทำงานของ CD-ROM ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกกรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก "แลนด์" สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก "พิต" ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น แผ่นซีดีรอมเป็นสื่อในการเก็บข้อมูลแบบออปติคอล (Optical Storage) ใช้ลำแสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูล แผ่นซีดีรอม ทำมาจากแผ่นพลาสติกเคลือบด้วยอลูมิเนียม เพื่อสะท้อนแสงเลเซอร์ที่ยิงมา เมื่อแสงเลเซอร์ที่ยิงมาสะท้อนกลับไป ที่ตัวอ่านข้อมูลที่เรียกว่า Photo Detector ก็อ่านข้อมูลที่ได้รับกลับมาว่าเป็นอะไร และส่งค่า 0 และ 1 ไปให้กลับซีพียู เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป ความเร็วของไดรฟ์ซีดีรอม มีหลายความเร็ว เช่น 2x 4x หรือ 16x เป็นต้น ซึ่งค่า 2x หมายถึงไดรว์ซีดีรอมมี ความเร็วในการหมุน 2 เท่า ไดรส์ตัวแรกที่เกิดขึ้นมามีความเร็ว 1x จะมีอัตราในการโอนถ่ายข้อมูล (Data Tranfer Rate) 150 KB ต่อวินาที ส่วนไดรฟ์ที่มีความเร็วสูงกว่านี้ ก็จะมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล ตามตาราง ความเร็วของไดรว์ ซีดีรอม อัตราการโอนถ่ายข้อมูล (กิโลไบต์ต่อวนาที)1x 1502x 3003x 4504x 6006x 9008x 1,20010x 1,500ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล (Access Time) ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลคือ ช่วงระยะเวลาที่ไดรว์ซีดีรอมสามารถอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม แล้วส่งไป ประมวลผล หน่วยที่ใช้วัดความเร็วนี้คือ มิลลิวินาที (milliSecond) หรือ ms ปกติแล้วความเร็วมตราฐานที่ เป็นของไดรว์ซีดีรอม 4x ก็คือ 200 ms แต่ตัวเลขนี้จะเป็นตัวเลขเฉลี่ยเท่านั้น เป็นไปไม่ได้แน่นอนว่าไดรว์ ซีดีรอมจะมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลบนแผ่นซีดีรอมเท่ากันทั้งหมด เพราะว่าความเร็วที่แท้จริงนั้นจะขึ้นอยู่ กับว่าข้อมูลที่กำลังอ่าน อยู่ในตำแหน่งไหนบนแผ่นซีดี ถ้าข้อมูลอยู่ในตำแหน่งด้านใน หรือวงในของแผ่นซีดี ก็จะมีความเร็วในการเข้าถึงสูง แต่ถ้าข้อมูลอยู่ด้านนอกหรือวงนอกของแผ่น ก็จะทำให้ความเร็วลดลงไป แคชและบัฟเฟอร์ ไดรว์ซีดีรอมรุ่นใหม่ๆ มักจะมีหน่วยความจำที่เรียกว่าแคชหรือบัพเฟอร์ติดตั้งมาบนบอร์ดของซีดีรอมไดรว์ มาด้วย แคชหรือบัพเฟอร์ที่ว่านี้ก็คือชิปหน่วยความจำธรรมดาที่ติดตั้งไว้เพื่อเก็บข้อมูลชั่วคราวก่อนที่จะส่ง ข้อมูลไปประมวลผลต่อไป เพื่อช่วยเพิ่มความเร็วในการอ่านข้อมูลจากไดรว์ซีดีรอม ซึ่งแคชนี้มีหน้าที่เหมือน กับแคชในฮาร์ดดิกส์ ที่จะช่วยประหยัดเวลา ในการอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดี เพราะถ้าข้อมูลที่ร้องขอมามีอยู่ ในแคชแล้ว ก็ไม่ต้องเสยเวลาไปอ่านข้อูลจากแผ่นอีก ขนาดของแคชในไดรว์ซีดีรอมทั่วๆ ไปก็คือ 256 กิโลไบต์ ซึ่งถ้ายิ่งมีแคชที่มีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งช่วยเพิ่มความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูล ให้สูงขึ้นไปอีก ข้อดีของการติดตั้งแคชลงไปในไดรว์ซีดีรอมก็คือ แคชจะช่วยให้สามารถรับ-ส่งข้อมูล ได้ด้วยความเร็ว สม่ำเสมอ เมื่อแอพพลิเคชั่นร้องขอข้อมูล มายังไดรว์ซีดีรอม แทนที่จะต้องไปอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดี ซึ่งมี ความเร็วต่ำ ก็สามารถอ่านข้อมูล ที่ต้องการจากแคช ที่มีความเร็วมากกว่าแทนได้ ยิ่งมีแคชจำนวนมากแล้วก็ สามารถที่จะเก็บข้อมูลมาไว้ในแคชได้เยอะขึ้น ทำให้เสียเวลาอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีน้อยลง อินเตอร์เฟซของไดรว์ซีดีรอม อินเตอร์เฟซของไดรว์ซีดีรอมมีอยู่ 2 ชนิดคือ IDE ซึ่งมีราคาถูก มีความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลอยู่ในขั้น ที่ยอมรับได้ และชนิด SCSI มีราคาแพงกว่าแบบ IDE แต่ก็จะมีความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลสูงขึ้นด้วย เหมาะสำหรับนำมาใช้เป็นซีดีเซร์ฟเวอร์ เพราะต้องการความเร็ว และความแน่นอนในการส่งถ่ายข้อมูลมากว่า ไดรฟ์ซีดีรอมจะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบติดตั้งภายใน และแบบติดตั้งถายนอก แบบติดตั้งภายในมีข้อดีคือ ประหยัดพื้นที่ในการวางซีดีรอมไดรว์และไม่ต้องใช้อดแปเตอร์เพื่อจ่ายไฟให้กับไดรว์ซีดีรอม และที่สำคัญมีราคาถูกกว่าแบบติดตั้งภายนอก แบบบติดตั้งภายนอกมีข้อดีคือ สามารถพกพาไปใช้กับ เครื่องอื่นได้สะดวก เทคโนโลยีซีดีรอม เทคโนโลยีซีดีรอมแบบที่นิยมใชกันมีอยู่ 2 ประเภทคือ CLV (Constant Linear Velocity) และ CAV (Constant Angular Velocity) การทำงานของ CLV คือตัวไดรฟ์จะทำงานที่ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลที่แน่นอน (ความเร็ว X) แต่มอเตอร์ นั้นหมุนที่ความเร็วระดับต่างๆ กันขึ้นอยู่กับเนื้อที่ในการเก็บข้อูล โดยหากอ่านข้อมูลบริเวณด้านในของแผ่นซีดี ตัวไดรฟ์จะหมุนที่ความเร็วสูง แต่เมื่อมีการอ่านข้อมูลบริเวณด้านนอก ตัวไดรฟ์จะลดความเร็วรอบลง โดย ความเร็วรอบนจะอยู่ระหว่าง 500 ถึง 4,000 รอบต่อนาที สำหรับซีดีรอมความเร็ว 8 เท่า ซึ่งเทคโนโลยีนี้ทำ การเพิ่มความเร็วในการถ่ายข้อมูลโอนข้อมูลได้ยาก เนื่อจากต้องคงความเร็ว ในการโอนถ่ายข้อมูลที่ 16 เท่านั้น เมื่อข้อมูลถูกเก็บอยู่ในพื้นที่วงในของแผ่นซีดี ตัวไดรฟ์จำเป็นต้องหมุนด้วยความเร็วสูง เพื่อให้คงอัตราการ ถ่ายโอนข้อมูลนั้นไว้ ทำให้เกิดปัญหาความร้อนและเกิดข้อมผิดพลาดในการรับข้อมูลได้มากขึ้น แต่สำหรับเทคโนโลยี CAV ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่กว่านั้นจะมีการทำงานที่ต่างกันโดยตัวไดรฟ์ CAV นั้นจะมีความเร็วในการหมุนคง ที่เช่นเดียวกับที่เป็นอยู่ในฮาร์ดดิสก์ เมื่อมีการอ่านข้อมูลบริเวณวงในของ แผ่นซีดีรอมนั้นตัวไดรฟ์อาจจะทำความเร็วในระดับ 8-12 เท่า แต่ประโยชน์ที่ได้จาก แต่ประโยชนที่ได้จาก ตัวไดรฟ์เทคโนโลยีนี้ก็คือเมื่อไดรฟ์ ทำการอ่านข้อมูลบริเวณวงนอกของแผ่นซีดีความเร็ว ในการอ่านจะเพิ่มขึ้น เป็น 16 เท่า เพราะเนื้อที่ด้านนอกของซีดีนั้นจะเก็บข้อมูลมากว่าพื้นที่วงในของแผ่น

แผ่น CD-R

บางบนเรียกแผ่นประเภทนี้ว่า CD-WORM หรือ CD-WO (WO หมายถึง write onec) )แผ่น CD ที่สามารถบันทึกได้ โดยใช้โปรแกรมช่วยในการบันทึก และใช้เครื่อง Recordable CD เป็นตัวบันทึก แต่การบันทึกนั้นจะใช้ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ข้อสังเกต ให้ดูคำว่า CD-R บนแผ่น CD

แผ่น CD-RW (Rewriteable CD)
          



แผ่น CD ที่สามารถบันทึกซ้ำได้ คล้ายกับ harddisk หรือแผ่นดิสก์ทั่ว ๆ ไป ราคาจะแพงกว่าแผ่น CD-R หลายเท่า ข้อสังเกตว่าแผ่นไหนเป็น CD-RW ให้ดูคำว่า CD-RW บนแผ่น CD สำหรับการบันทึกของแผ่น CD-RW จะเป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า multi-sessions เทคโนโลยีของ CD-RW นั้นจะแตกต่างจาก CD-R เนื่องจากต้องมีการบันทึกซ้ำ โดยสารเคมีที่เคลือบบนแผ่น CD-RW นั้นจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อได้รับความร้อนถึงจุด ๆ หนึ่ง

ดีวีดี (DVD; Digital Versatile Disc) เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง (optical disc) ที่ใช้บันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ โดยให้คุณภาพของภาพและเสียงที่ดี ดีวีดีถูกพัฒนามาใช้แทนซีดีรอม โดยใช้แผ่นที่มีขนาดเดียวกัน (เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร) แต่ว่าใช้การบันทึกข้อมูลที่แตกต่างกัน และความละเอียดในการบันทึกที่หนาแน่นกว่า



                                                    นายอิทธิพัฒน์   ล้ำเลิศรวิทย์   ม.5/1   เลขที่ 18

ใบงานที่ 4




Hard Disk   คือ  อุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลได้มาก  สามารถเก็บได้อย่างถาวรโดยไม่จำเป็นต้องมีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา  เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะไม่สูญหาย ดังนั้น  Hard Disk  จึงถูกจัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บระบบปฏิบัติการ  โปรแกรม  และข้อมูลต่าง    เนื่องจาก  Hard Disk  เป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการอัพเกรดทำให้เทคโนโลยี  Hard Disk  ในปัจจุบันได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นการเลือกซื้อ  Hard Disk   จึงควรคำนึงซึ่งประสิทธิภาพที่จะได้รับจาก  Hard Disk
ส่วนประกอบของ Hard Disk
1. แขนของหัวอ่าน ( Actuator Arm )
ทำงานร่วมกับ Stepping Motor ในการหมุนแขนของหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม สำหรับการอ่านเขียนข้อมูล โดยมีคอนโทรลเลอร์ ทำหน้าที่แปลคำสั่งที่มาจากคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็เลื่อนหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่ต้องการ เพื่ออ่านหรือเขียนข้อมูล และใช้หัวอ่านในการอ่านข้อมูล ต่อมา Stepping Motor ได้ถูกแทนด้วย Voice Coil ที่สามารถทำงานได้เร็ว และแม่นยำกว่า Stepping Motor

 
2 . หัวอ่าน ( Head )
เป็นส่วนที่ใช้ในการอ่านเขียนข้อมูล ภายในหัวอ่านมีลักษณะเป็น ขดลวด โดยในการอ่านเขียนข้อมูลคอนโทรลเลอร์  จะนำคำสั่งที่ได้รับมาแปลงเป็นแรงดันไฟฟ้าแล้วป้อนเข้าสู่ขดลวดทำให้เกิดการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็ก ไปเปลี่ยนโครงสร้างของสารแม่เหล็ก ที่ฉาบบนแผ่นดิสก์ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลขึ้น
 
3. แผ่นจากแม่เหล็ก (Platter)
            มีลักษณะเป็นจานเหล็กกลมๆ ที่เคลือบสารแม่เหล็กวางซ้อนกันหลายๆชั้น (ขึ้นอยู่กับความจุ) และสารแม่เหล็กที่ว่าจะถูกเหนี่ยวนำให้มีสภาวะเป็น 0 และ1 เพื่อจัดเก็บข้อมูล โดยจานแม่เหล็กนี้จะติดกับมอเตอร์ ที่ทำหน้าที่หมุน แผ่นจานเหล็กนี้ ปกติ Hard Disk  แต่ละตัวจะมีแผ่นดิสก์ประมาณ 1-4 แผ่นแต่ละแผ่นก็จะเก็บข้อมูลได้ทั้ง 2 ด้าน

 
4. มอเตอร์หมุนจานแม่เหล็ก ( Spindle Moter )
เป็นมอเตอร์ที่ใช้หมุนของแผ่นแม่เหล็ก ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อความเร็วใน การหมุน ของ Hard Disk เพราะยิ่งมอเตอร์หมุนเร็วหัวอ่านก็จะเจอข้อมูลที่ต้องการเร็วขึ้น ซึ่งความเร็วที่ว่านี้จะวัดกันเป็นรอบต่อนาที ( Rovolution Per Minute หรือย่อว่า RPM ) ถ้าเป็น Hard Disk รุ่นเก่าจะหมุนด้วยความเร็วเพียง 3,600รอบต่อนาที ต่อมาพัฒนาเป็น 7,200รอบต่อนาที และปัจจุบันหมุนได้เร็วถึง 10,000รอบต่อนาที การพัฒนาให้ Hard Disk หมุนเร็วจะได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น

 
  5. เคส ( Case )
มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม ใช้บรรจุกลไกต่างๆ ภายในแผ่นดิสก์เพื่อป้องกันความเสียหาย ที่เกิดจากการหยิบ จับ และป้องกันฝุ่นละออง

การเก็บข้อมูลของ Harddisk

ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์จะอยู่บนเซกเตอร์และแทร็ก แทร็กเป็นรูปวงกลม ส่วนเซกเตอร์เป็นเสี้ยวหนึ่งของวงกลม อยู่ภายในแทร็กดังรูป แทร็กแสดงด้วยสีเหลือง ส่วนเซกเตอร์แสดงด้วยสีแดง ภายในเซกเตอร์จะมีจำนวนไบต์คงที่ ยกตัวอย่างเช่น 256 ถึง 512 ขึ้นอยู่กับว่าระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์จะจัดการแบ่งในลักษณะใด เซกเตอร์หลายๆ เซกเตอร์รวมกันเรียกว่า คลัสเตอร์ (Clusters) ขั้นตอน ฟอร์แมต ที่เรียกว่า การฟอร์แมตระดับต่ำ (Low -level format ) เป็นการสร้างแทร็กและเซกเตอร์ใหม่ ส่วนการฟอร์แมตระดับสูง (High-level format) ไม่ได้ไปยุ่งกับแทร็กหรือเซกเตอร์ แต่เป็นการเขียน FAT ซึ่งเป็นการเตรียมดิสก์เพื่อที่เก็บข้อมูลเท่านั้น

ประวัติ Harddisk (เพิ่มเติม)

ฮาร์ดดิสก์ที่มีกลไกแบบปัจจุบันถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2499 (1956) โดยนักประดิษฐ์ยุคบุกเบิกแห่งบริษัทไอบีเอ็ม เรย์โนล์ด จอห์นสัน ซึ่งในขณะนั้น ฮาร์ดดิสก์มีขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 20 นิ้ว มีความจุเพียงระดับเมกะไบต์เท่านั้น «โดยใช้หน่วยการเปรียบเทียบเป็น ระดับจิกะไบต์ในปัจจุบัน ซึ่ง 1,024MB = 1GB» ในตอนแรกใช้ชื่อเรียกว่า 'ฟิกส์ดิสก์ fixed disk หรือจานบันทึกที่ติดอยู่กับที่ ในบริษัทIBMเรียกว่า วินเชสเตอร์ส Winchesters
ต่อมาภายหลังจึงเรียกว่า ฮาร์ดดิสก์ จานบันทึกแบบแข็ง เพื่อจำแนกประเภทออกจาก ฟลอปปี้ดิสก์ ตั้งแต่เข้าสู่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา ฮาร์ดดิสก์สามารถพบได้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ไม่เฉพาะภายในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ อีกด้วย เช่น เครื่องเล่นเอ็มพีทรี, เครื่องบันทึกภาพดิจิทัล, กล้องถ่ายรูป, คอมพิวเตอร์ขนาดพกพา PDA จนกระทั่งภายใน โทรศัพท์มือถือ บางรุ่นตั้งแต่ภายในปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมาเช่นยี่ห้อ (โนเกีย และ ซัมซุงสองบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือรายแรกที่จำหน่ายโทรศัพท์มือถือที่มีฮาร์ดดิสก์

นายอิทธิพัฒน์   ล้ำเลิศวรวิทย์   ม.5/1   เลขที่ 18 ...
 

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 3



AGP Slot (Accelerator Graphic Port)

        
  เป็นสล็อตที่มีไว้สำหรับติดตั้งการ์ดแสดงผล หรือการ์ดจอเท่านั้น สล็อตเอจีพีจะมีสีน้ำตาล ตำแหน่งจะอยู่ด้านบนของสล็อต พีซีไอ และอยู่ใกล้กับตำแหน่งของซ็อคเก็ตที่ติดตั้งซีพียู เหตุผลที่ใช้ติดตั้งเฉพาะการ์ดแสดงผล ก็เนื่องจากระบบบัสแบบ PCI ที่ใช้กันอยู่เดิมนั้น ไม่สามารถตอบสนองการใช้งาน ที่ต้องการความรวดเร็วในการแสดงผลสูงๆ อย่างเช่น เกมสามมิติ โปรแกรมกราฟิกประเภทสามมิติ ออกแบบ บัสแบบเอจีพีหรือสล็อตแบบเอจีพีรุ่นใหม่จะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงขึ้น ซึ่งมีข้อสังเกตๆ ง่ายคือ 2X 4X และล่าสุด 8X ตัวเลขยิ่งสูงมากยิ่งเร็วขึ้น


ATX Power Connector


         
 ขั้วต่อสายไฟจากพาวเวอร์ซัพพลายเข้ากับเมนบอร์ด ซึ่งเป็นขั้วต่อแบบ ATX โดยที่พาวเวอร์ซัพพลาย จะมีสายไฟหนึ่งชุดเอาไว้ต่อเข้ากับเมนบอร์ด และด้านหนึ่งของขั้วต่อจะมีสลักล็อกสายไฟ ป้องกันไม่ให้สายไฟ หลุดจากเมนบอร์ดได้ง่าย


BIOS (Basic Input Output )

          เป็น CHIP IC ชนิดหนึ่งที่อยู่บนเมนบอร์ด ภายในจะมีโปรแกรมที่ใช้ตรวจสอบค้นหาอุปกรณ์ประเภทฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ดิสก์ไดร์ฟ ที่ติดตั้งเข้าไป ทุกครั้งที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมที่อยู่ในไบออส จะเริ่มตรวจสอบการทำงานของ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น การทำงานของเมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ แรม การ์ดจอ คีย์บอร์ด ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า Power on Self Test (Post) ในกรณีที่มีอุปกรณ์เสียหรือผิดปกติก็จะรายงานให้ทราบ นอกจากนี้ไบออสยังมีคำสั่งสั่งให้เครื่อง คอมพิวเตอร์บูตเข้าสู่วินโดวส์ หรือระบบปฏิบัติการอื่น ที่ติดตั้งเอาไว้ด้วย ในรูปนี้เป็นไบออสของ AMI ซึ่งไบออสมีหลายยี่ห้อด้วยกัน เช่น AWARD, PHEONIX, COMPAQ, IBM ซึ่งจะมี ความแตกต่างกันบ้างในเรื่องของวิธีการเข้าไปตั้งค่าการทำงานของไบออส รวมทั้งรูปแบบเมนูของไบออส ส่วนเมนบอร์ด ที่ใช้จะมีไบออสยี่ห้อไหน และตำแหน่งติดตั้งอยู่ที่ไหนบนเมนบอร์ดสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากคู่มือของเมนบอร์ด



CMOS Battery

         
 แบตเตอรี่เบอร์ CR2032 เป็นแบตเตอรี่ที่จ่ายกระแสไฟให้กับ CMOS เพื่อเก็บข้อมูลในไบออส เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม วันเวลา ถ้าหากแบตเตอรี่หมดอายุจะทำให้ข้อมูลในไบออสหายไป ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามาร ตรวจสอบ ได้ว่ามีฮาร์ดดิสก์ มีซีดีรอมต่อพ่วงอยู่หรือเปล่า ทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ แบตเตอรี่จะมีอายุการใช้งานประมาณสองหรือสามปี หากต้องการเปลี่ยนก็หาซื้อได้ตามร้านนาฬิกาหรือร้านถ่ายรูป


CPU Socket

          ใช้สำหรับติดตั้งซีพียูเข้ากับเมนบอร์ด เมนบอร์ดที่ใช้กับซีพียูของอินเทลคือ Pentium 4 และ Celeron จะเรียกซ็อคเก็ตว่า SOCKET 478 ส่วนเมนบอร์ดสำหรับซีพียู AMD นั้นจะมีซ็อคเก็ตแบบ SOCKET 462 หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า SOCKET A จุดสังเกตว่าเมนบอร์ดเป็นซ็อคเก็ตแบบใดนั้นก็ดูจากชื่อที่พิมพ์ไว้บนซ็อคเก็ต ส่วนความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งก็คือรอยมาร์ค ที่มุมของซ็อคเก็ต ถ้าเป็นซ็อคเก็น 478 จะมีรอยมาร์คอยู่ที่มุมหนึ่งด้าน ส่วนซ็อคเก็ต 462 จะมีรอยมาร์คที่มุมสองด้าน โดยรอยมาร์คจะตรงกับตำแหน่งของซีพียู เพื่อให้คุณติดตั้งซีพียูเข้ากับซ็อคเก็ตได้อย่างถูกต้อง



Floppy Disk Connector

         
 คอนเน็คเตอร์สำหรับต่อสายแพเข้ากับ Disk Drive ซึ่งเมนบอร์ดจะมีคอนเน็คเตอร์ไว้ให้หนึ่งช่อง ซึ่งก็เพียงพอต่อการ ใช้งาน เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะติดตั้งดิสก์ไดร์ฟเพียงแค่หนึ่งไดร์ฟเท่านั้น จุดสังเกตก็คือจะมีข้อความว่า FLOPPY หรือเมนบอร์ดบางรุ่นจะเป็นตัวย่อว่า FDD พิมพ์กำกับอยู่ ส่วนที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือที่ช่องคอนเน็คเตอร์จะมี Pin หรือเข็มอยู่ 33 อัน โดยด้านหนึ่งจะมีคำว่า PIN 1 พิมพ์กำกับอยู่ด้วย เมื่อต้องการต่อสายแพเข้ากับคอนเน็คเตอร์ จะต้องเอาด้านที่มีสีแดงหรือสีน้ำเงินมาไว้ที่ตำแหน่ง PIN 1 Floppy Disk Connector

        IDE Connector

        
  เป็นคอนเน็คเตอร์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อสายแพกับฮาร์ดดิสก์แบบ IDE รวมถึงอุปกรณ์จำพวกไดร์ฟอ่านเขียนข้อมูล เช่น ซีดีรอม ดีวีดี ซิฟไดร์ฟ โดยเมนบอร์ดจะมีคอนเน็คเตอร์ IDE อยู่สองชุดด้วยกัน เรียกว่า IDE 1 กับ IDE 2 แต่ละคอนเน็คเตอร์ จะรองรับอุปกรณ์ได้สองชิ้น ซึ่งหมายถึงว่าคุณจะต่อฮาร์ดดิสก์รวมทั้งซีดีรอมได้สูงสุดแค่สี่ชิ้น ซึ่งอาจจะเป็นฮาร์ดิสก์ สองตัวกับไดร์ฟ CD-RW และไดร์ฟ DVD อีกอย่างละหนึ่ง เช่นเดียวกันกับ FDD Connector ก็คือจะมีตัวอักษรพิมพ์กำกับว่าด้านใดคือ PIN 1 เพื่อให้ต่อสายแพเข้าไปอย่างถูกต้อง แต่ IDE Connector จะมีจำนวนพินมากกว่าคือ 39 พิน (ในรูปคือที่เห็นเป็นสีแดงกับสีขาว)



PCI Slots (Peripherals component interconnect)

         
 สล็อตพีซีไอ เป็นช่องที่เอาไว้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น ติดตั้งการ์ด SCSI การ์ดเสียง การ์ดเน็ตเวิร์ค โมเด็มแบบ Internal เมนบอร์ดโดยส่วนใหญ่จะมีสล็อตพีซีไอเป็นสีขาวครีม แต่ก็มีเมนบอร์ดรุ่นใหม่บางรุ่นที่เพิ่มสล็อตพีซีไอ โดยใช้สีแตกต่าง เช่น สีน้ำเงิน เพื่อใช้ติดตั้งการ์ดที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ สล็อตแบบพีซีไอนั้นถูกออกแบบมาแทนสล็อตแบบ VL ซึ่งทำงานได้ช้า การติดตั้งอุปกรณ์ทำได้ยาก เนื่องจากต้องเซ็ตจัมเปอร์ แต่พีซีไอนั้นจะเป็นระบบ Plug and Play ที่ติดตั้งอุปกรณ์ได้ง่ายกว่า อุปกรณ์บางอย่าง เช่น การ์ดเสียง เมื่อติดตั้งแล้วโอเอส จะรู้จักทันทีหรือเพียงแค่ลงไดรเวอร์เพิ่มเติมเท่านั้น อนึ่งสล็อตแบบพีซีไอนั้นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า PCI Bus ซึ่งก็หมายถึง เส้นทางที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลระหว่างเมนบอร์ดกับอุปกรณ์ต่อพ่วง โดยบัสแบบจะทำงานในระบบ 32 บิต



RAM Sockets

         
 เป็นช่องที่ใช้สำหรับติดตั้งแรมเข้าไป เมนบอร์ดแต่ละรุ่นจะมีช่องสำหรับติดตั้งแรมไม่เท่ากัน บางรุ่นอาจจะมีแค่สอง บางรุ่นมีสาม บางรุ่นมีสี่ จำนวนช่องถ้ามีเยอะก็จะทำให้คุณเพิ่มแรมได้มากขึ้น ซ็อคเก็ตที่ใช้ติดตั้งแรมยังแบ่งออกไปตามชนิดของแรมด้วย ถ้าเป็นเมนบอร์ดที่ใช้แรมแบบ DDR จะมีรอยมาร์ค อยู่ตรงกลางหนึ่งช่อง ซึ่งจะตรงกับตำแหน่งรอยมาร์คที่แรม


System Panel Connector

         
 สิ่งที่คุณจะสังเกตุเห็นก็คือกลุ่มเข็มที่โผล่ออกมาเหมือนเสาเข็ม สำหรับ System Panel นั้นเป็นจุดที่ใช้ต่อสายสวิทช์ ปิดเปิดเครื่อง (Power Switch) สายไฟปุ่มรีเซ็ท (Reset Switch) ไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์ (HDD LED) ลำโพงภายในตัวเครื่อง (Speaker) และสวิทช์ล็อกการทำงานของคีย์บอร์ด (Keyboard Lock) โดยสวิทช์หรือ หลายไฟเหล่านี้จะติดอยู่กับเคสเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าคุณไม่ต่อสายไฟจากเคสเข้ากับ System Panel สวิทช์เปิดเครื่อง หรือไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์ก็จะไม่ติด


PS/2 Mouse, PS/2 Keyboard Port

          เป็นพอร์ต์ที่ใช้สำหรับต่อสายเม้าส์กับสายคีย์บอร์ดเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเรียกว่าพีเอสทูเม้าส์หรือพีเอสทูคีย์บอร์ด ซึ่งพอร์ตจะมีรูกลมหกรู แล้วก็รูสี่เหลี่ยมหนึ่งรู ซึ่งปลายสายคีย์บอร์ดหรือเม้าส์ก็จะมีเข็มที่ตรงกับตำแหน่งของรูที่พอร์ตด้วย การเสียบสายเม้าส์และคีย์บอร์ดเข้าไป ต้องระวังให้เข็มตรงกับรู สำหรับพอร์ตเม้าส์และคีย์บอร์ดนั้นจะใช้ Color Key แสดงเอาไว้ สีเขียวคือต่อสายเม้าส์ ส่วนสีน้ำเงินต่อสายคีย์บอร์ด นอกจากนี้ยังมีจุดสังเกตุอีกประการหนึ่งก็คือ เมื่อประกอบเมนบอร์ดเข้ากับเคส ที่เคสจะมีสัญลักษณ์รูปเม้าส์กับรูปคีย์บอร์ด ติดอยู่ เพื่อให้ต่อสายเม้าส์และคีย์บอร์ดได้ถูกต้อง



USB Port (Universal Serial Bus)

          
พอร์ตสำหรับต่อพ่วงกับอุปกรณ์ที่มีพอร์ตแบบยูเอสบี เช่น พรินเตอร์ สแกนเนอร์ กล้องดิจิตอล ซีดีรอมไดร์ฟ ซิพไดร์ฟ เป็นต้น เมนบอร์ดรุ่นใหม่จะมีพอร์ตยูเอสบีเพิ่มมาอีกเรียกว่าพอร์ต USB 2.0 ซึ่งรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่าเดิม เมื่อคุณต้องซื้ออุปกรณ์ต่อพ่วง ควรตรวจสอบด้วยว่าอุปกรณ์นั้นเชื่อมต่อกับพอร์ตยูเอสบีรุ่นเก่า หรือว่าต้องใช้ร่วมกับพอร์ต ยูเอสบี 2.0 เพื่อความมั่นใจว่าอุปกรณ์ที่ซื้อมานั้นจะทำงานได้อย่างไม่มีปัญหาใดๆ


Parallel Port

         
 พอร์ตพาราเรล เป็นพอร์ตแบบตัวเมียมีรู 25 รู สำหรับต่อสายพรินเตอร์หรือสแกนเนอร์ที่มีพอร์ตแบบพาราเรล ซึ่งส่วนใหญ่ จะใช้ต่อกับเครื่องพรินเตอร์มากกว่า ซึ่งบางคนจะเรียกว่าพรินเตอร์พอร์ต โดยส่วนใหญ่พอร์ตพาราเรลจะมีกับเครื่อง พรินเตอร์รุ่นเก่า หรือในเครื่องพรินเตอร์ระดับกลางๆ ขึ้นไป



Serial Port

          พอร์ตแบบตัวผู้ที่มีขาสัญญาณอยู่ 9 ขา เรียกว่าคอมพอร์ต (COM Port) เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับต่อโมเด็ม เม้าส์ หรือจอยสติ๊ก ปัจจุบันอุปกรณ์ที่ใช้พอร์ตนี้แทบไม่มีให้เห็น เนื่องจากหันไปใช้พอร์ตแบบ USB เป็นส่วนใหญ่


วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 2

1. หาคำศัพธ์คอมพิวเตอร์  โดยแบ่งออกเป็นหัวข้อดังนี้

1.1  คำศัพท์เฉพาะคอมพิวเตอร์(เช่น LCD , CPU ฯลฯ)

A
หมายถึง : ในระบบการทำงานของ MS-DOS และ ของ OS/2 เป็น ช่องดิสก์ไดร้ว์ช่องแรก และใช้เป็นช่องดิกส์ไดร้ว์ สำหรับตรวจการเริ่มต้นคำสั่งการทำงานเป็นครั้งแรก


abort
หมายถึง : การไม่ทำงานของเครื่องโดยมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น


AC
หมายถึง :
กระแสไฟฟ้าสลับ เป็นอักษรย่อของคำเต็มว่า alternating current


access
หมายถึง :
เข้าถึง, บอกตำแหน่ง, การอ่านหน่วยความจำ,และทำให้พร้อมที่จะนำมาใช้งาน คำว่า access ใช้กับการเข้าสู่แผ่นดิสก์, แฟ้มข้อมูล, ระเบียนและเครือข่ายต่างๆ


active
หมายถึง :
เป็นคำ adjective ขยายโปรแกรม , เอกสาร, เครื่องมือต่างๆ หรือส่วนของหน้าจอภาพที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ หมายถึงโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ เอกสารที่กำลังใช้อยู่ หรือเครื่องมือที่กำลังถูกใช้งาน เป็นต้น


C++
หมายถึง :
ภาษา C programming language รุ่นใหม่ ซึ่งพัฒนาขึ้นมาโดย Bjarne Strousrup ณ ห้องปฏิบัติการ Bell Laboratories เมื่อต้นปี พ.ศ. 2523 ภาษา C เวอร์ชั่นนี้เป็นที่ยอมรับของนักผลิตโปรแกรมทั้งหลาย เช่น บริษัท Apple Computer และบริษัท Sun Microsystem เป็นต้น


CAD/CAM
หมายถึง :
(อ่านว่า แคด/แคม) เป็นคำย่อของคำว่า computer-aided-design/computer-aided-manufacturing หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นอุตสาหกรรม เราสามารถใช้ CAD/CAM ผลิตชิ้นส่วนของเครื่องจักร เครื่องยนต์ เป็นต้น


IEEE
หมายถึง : อ่านว่า ไอทริเพิ่ลอี เป็นคำย่อของคำว่า Institute of Electrical and Electronics Engineers เป็นองค์กรวิชาชีพวิศวกรรมและอีเล็กทรอนิกองค์กรหนึ่ง ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านการพัฒนาระดับการเชื่อมโยงข้อมูลในเครือข่าย LAN มาตรฐานที่เรียกว่า IEEE 802 ต่อจากการพัฒนาแบบของ ISO Operating system Interconnection


ฯลฯ ( เยอะมากกก !!! )

1.2  คำศัพท์ด้านอินเตอร์เน็ต( HTTP , HTTPS ฯลฯ)
ADDRESS
แปลตรงตัวหมายถึงที่อยู่ อาจหมายถึงที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต หรือ ที่อยู่ของอีเมล์

AUTHORING TOOL
เครื่องมือใช้ในการสร้างเอกสารจำพวก HTML เพื่อใช้สำหรับเผยแพร่ใน www

BACKBONE
การเชื่อมต่อข้อมูลด้วยความเร็วสูง สามารถเชื่อมต่อกับหลาย ๆ เครือข่าย

BRIDGE
เป็นอุปกรณ์ตัวหนึ่ง ที่ใช้สำหรับส่งต่อข้อมูลระหว่างสองระบบ หรือเครือข่าย ทำหน้าที่ส่งผ่าน package เท่านั้น

BROSWER
โปรแกรมสำหรับใช้เล่น internet เวิลด์ ไวด์ เว็บ (www) ได้แก่ Internter Explorer, Netscape, Opera

CLIENTS
คอมพิวเตอร์ลูกข่าย ที่เข้ามาขอใช้ข้อมูลจาก server ผ่านทางระบบเครือข่าย

COMPOSE
การแต่ง หรือเขียนจดหมาย Email

DIAL UP
การติดต่อกับคอมพิวเตอร์ หรือระบบเครือข่าย ผ่านทางสายโทรศัพท์

DNS
Domain Name Server การแปลงชื่อโฮตของเครือข่ายไปเป็นแอดเดรศ บนระบบเครือข่าย TCP/IP หรือใน internet

DOWNLOAD
การส่งผ่านข้อมูล เช่น ไฟล์ภาพ, ไฟล์ภาพยนตร์, ไฟล์เสียงเพลง จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา

ฯลฯ (เยอะมากๆๆ !!)

1.3  คำศัพท์เกี่ยวกับเทคโนโลยีต่าง  ๆ หรือ อื่น ๆ (เช่น  Alphanumeric Characters , CCD ,ฯลฯ)

alphanumeric characters
ตัวอักขระทั้งหมดที่เป็นได้ทั้งตัวอักษร (a, b, c,…) ตัวเลข (1, 2, 3,...) สัญลักษณ์พิเศษ ช่องว่าง และเครื่องหมายวรรคตอนต่าง ๆ ( #, 4,…)
 
analog display
ความสามารถของจอแสดงผลที่กระจายสีเป็นช่วงต่อเนื่องตามระดับความเข้มของสีเทาหรือสีทั่วไปต่างจากการแสดงผลแบบดิจิตอล ซึ่งจะกระจายสีได้ในขอบเขตจำกัดทั้งสีเทาหรือสีทั่วไปจอ VGA แสดงผลแบบแอนะล็อก ขณะที่จอ EGA แสดงผลเป็นดิจิตอล
 
analog-to-digital converter
ใช้คำย่อว่า ADC หรือ A-D converter, อุปกรณ์แปลงสัญญาณแอนะล็อกเป็นดิจิตอล เมื่อสัญญาณแอนะล็อกแปลงเป็นดิจิตอลแล้วจึงส่งมาให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล วิเคราะห์ แสดงผล และส่งข้อมูลได้ประเด็นสำคัญของตัวแปลงแอนะล็อกเป็นดิจิตอล คือปริมาณข้อมูลดิจิตอลที่ได้มาจากสัญญาณแอนะล็อก ความถูกต้องของการแปลงสัญญาณนี้ขึ้นกับความถี่ในการสุ่มจับข้อมูลแอนะล็อกแต่ละครั้งและข้อมูลที่เก็บบันทึกไว้แผ่นวงจรเสียงที่ทันสมัยสามารถสุ่มจับข้อมูลและเล่นย้อนกลับได้ที่ความถี่ 44.1 กิโลเฮิรตซ์ โดยใช้ตัวแปลงแอนะล็อกเป็นดิจิตอลขนาด 16 บิต
 
animation
การใช้คอมพิวเตอร์สร้างภาพเคลื่อนไหวตามภาพที่วาดหรือสร้างไว้, การทำให้ภาพเคลื่อนไหวได้ด้วยการแสดงผลภาพชุดหนึ่งที่เร็วมาก ๆจนเรามองเป็นภาพต่อเนื่อง ซึ่งแต่ละภาพจะมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยแอนิเมชันนี่เองที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในเรื่องระบบงานแบบหลายสื่อรวมไปถึงเกมในคอมพิวเตอร์ด้วย เทคนิคที่ใช้ก็คล้ายกับการสร้างภาพยนตร์การ์ตูน
 
any key
ปุ่มใด ๆบนแป้นพิมพ์ โดยมากมักจะเป็นกลุ่ม Enter หรือแคร่ยาว (Spacebar) โปรแกรมเมอร์มักใช้คำว่า ปุ่มใด ๆ any key” เพื่อให้คุณทำงานได้ง่ายเข้า
 
AMR (Adaptive Multi Rate)
ไฟล์เสียงในมาตรฐานใหม่ที่ได้รับการยอมรับในการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมสื่อสารไร้สายยุคใหม่ส่วนมากเราจะเห็นไฟล์เสียงแบบ AMR ในโทรศัพท์มือถือที่รองรับบริการ MMS อยู่ในเครื่อง เพราะไฟล์เสียงแบบ AMR นั้นเป็นหนึ่งในฟอร์แมทไฟล์เสียงที่ใช้กับ MMS หรือเป็นเสียงที่เราบันทึกเองจากโทรศัพท์โดยจะถูกจัดเก็บเป็นไฟล์ฟอร์แมต .amr
 
ฯลฯ (เยอะเกินนน !!!)
 
 
 
นายอิทธิพัฒน์   ล้ำเลิศวรวิทย์   ม.5/1   เลขที่ 18 ... !!! ~

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แบบทดสอบหลังเรียน

             1.       บิดาคอมพิวเตอร์คือใครและจงบอกผลงานที่ทำให้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของคอมพิวเตอร์

      Charles Babbage ...
ได้ทำการออกแบบเครื่อง Difference Engine โดยได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาล แต่เครื่อง Difference Engine นี้สร้างไม่เสร็จ เพราะแบบเบจได้ค้นพบความไม่น่าเชื่อถือบางประการในการคำนวณ จึงล้มเลิก และไปคิดเครื่องใหม่แบบเบจได้พยายามสร้าง เครื่องคำนวณอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า Analytical Engine โดยมีแนวคิดให้แบ่งการทำงานของเครื่องออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนเก็บข้อมูล (Store unit), ส่วนควบคุม (Control unit) และส่วนคำนวณ (Arithmetic unit) ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับการนำมาใช้เป็นต้นแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จึงยกย่องแบบเบจ ว่าเป็นบิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์

                   2.    จงเรียงลำดับเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับประวัติคอมพิวเตอร์ต่อไปนี้ จากแรกสุดไปหลังสุด
....2.....) Slide Rule                                                ....6.....) UNIVAC
....1.....) Abacus                                                       ....5.....) MARK I  
.....3....)
Difference Engine                                   ....4.....) ABC Computer

3. จงอธิบายที่มาของเครื่องคำนวณเครื่องแรกที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์

ค.ศ. 1943 : เจ เพรสเปอร์ เอ็คเคิร์ท (J. Presper Eckert) นักวิศวกรและ จอห์น มอชลี (John Mauchly) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ได้ช่วยกันสร้างเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) สร้างสำเร็จในปี ค.ศ. 1946 นับเป็น เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลก เรียกว่า ENIAC (Electronic Numerical Integrator and Calculator)

4. โปรแกรมเมอร์คนแรกคือใคร

... Lady Augusta Ada Byron

5. คอมพิวเตอร์เครี่องแรกที่สามารถเก็บโปรแกรมไว้ในเครื่องได้คือ

ดร.จอห์น ฟอน นิวแมนน์ ( Dr.John Von Neumann ) ได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเก็บคำสั่งการปฏิบัติงานทั้งหมดไว้ภายในเครื่อง ชื่อว่า EDVAC นับเป็นคอมพิวเตอร์เครี่องแรกที่สามารถเก็บโปรแกรม ไว้ในเครื่องได้

6. เครื่องประดิษฐ์ที่ชื่อว่า Difference Engine สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์อะไร

เครื่องหาผลต่าง (Difference Engine) ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้คำนวณ และพิมพ์ตารางทางคณิตศาสตร์อย่างอัตโนมัติ

7. เครื่องคอมพิวเตอร์ใดที่เป็นต้นแบบของคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน      

[ พ.ศ.2365 ] ชาร์ล แบบเบจ ( Charles Babbage) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์เครื่องมือที่เรียกว่าเครื่องหาผลต่าง ( Difference Engine) เพื่อใช้คำนวณและพิมพ์ ค่าทางตรีโกณมิติและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ แบบเบจได้พยายามสร้าง เครื่องคำนวณอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า Analytical Engine โดยมีแนวคิดให้แบ่งการทำงานของเครื่องออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนเก็บข้อมูล (Store unit), ส่วนควบคุม (Control unit) และส่วนคำนวณ (Arithmetic unit) ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับการนำมาใช้เป็นต้นแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
นายอิทธิพัฒน์   ล้ำเลิศวรวิทย์   ม.5/1   เลขที่ 18